วันจันทร์, พฤษภาคม 30, 2554

สำนวน : กร่าง - put on air of importance

           กร่าง เป็นคำศัพท์แปลกประหลาด เมื่อลองค้นดูอักขราภิธานศัพท์ รวบรวมโดย หมอปลัดเล และอาจารย์ทัด ผู้คัดแปล ก็เห็นอธิบายไว้สั้นๆว่า "ต้นไม้อย่างหนึ่ง ใบเท่าฝ่ามือ ผลคล้ายมะเดื่อ กินไม่ได้ "

           เคยทราบว่า ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมท เคยตั้งชื่อ สมภารกร่าง ในนวนิยายที่คัดลอกปรุงแต่งใหม่จาก ดอนคามิลโย ของฝรั่ง

           ความจริง กร่าง เป็นอาการแสดงออกซึ่งอำนาจแต่อาจไร้อำนาจก็ได้ จึงคล้ายกับการทำท่าใหญ่โต ภาษาอังกฤษที่เห็นว่าใกล้เคียงน่าจะเป็นสำนวน put on air of importance
เช่น
           This chap has an air of importance (about him) หรือ this broke always puts on air of importance. = ไอ้หมอนี่วางท่ากร่างอยู่เรื่อย

           ส่วนสำนวน with one's nose in the air หรือแปลตรงตัวว่า มีจมูกอยู่ในอากาศ เป็นสำนวนที่ส่อความจองหองในตัว
เช่น

           Wisa walked past us with his nose in the air. = คุณวิสาเดินผ่านพวกเราไปทำท่ากร่างพิลึก

           คำว่า กร่าง อาจใช้ในความหมายอื่นที่กระเดียดไปในเชิงจองหอง บางทีพูดกันว่า วางมาดกร่าง บางครั้งเมื่อพูดจาแสดงความเขื่อง ผู้คนอาจนำไปพูดกันต่อว่าพูดจากร่างๆ

           ปกติคนนิสัยกร่างพอถอดได้ว่า an overbearing person คำว่า overbearing บ่งถึงนิสัยที่ชอบยกตนข่มท่าน

           กร่าง เป็นศัพท์แสลงในภาษาไทย หากเทียบกับแสลงภาษาอังกฤษด้วยกัน จะตรงกับคำว่า cocky หรือ all over yourself หากต้องการบอกให้หยุดกร่าง น่าจะใช้  Come down off your high horse. = เธอนี่น่าจะหยุดกร่างเสียที

           บางคนอาจใช้คำว่า  highfalutin ก็แปลว่า กร่าง ได้เช่นกัน เช่น highfalutin idea = ความคิดกร่างๆ, highfalutin language = ภาษากร่างๆ

           ศัพท์อีกคำหนึ่งที่น่าสนใจเช่นกัน คือ คำว่า hoity-toity แปลว่า กร่าง เช่น

           I suppose that the fella is quite hoity-toity. = ผมว่าไอ้เวรนี่มันกร่างมาก

           กร่างนั้นยั่วให้คิดถึงหนังสือชื่อ กุลิสถาน แต่งโดย สาดี ที่กล่าวคำคมที่เห็นภาพความกร่างได้ชัดเจนว่า :-

           "Every person thinks his own intellect perfect, and his own child handsome."
           "ใครต่อใครคิดว่าตนมีปัญญาเยี่ยมยอด และลูกของตนนั้นหล่อเหลา"




ขอบคุณที่มาจากหนังสือ "สนุกภาษาฝรั่งกับประเดิม" เขียนโดย คุณนพพร สุวรรณพานิช พิมพ์ปีพ.ศ. 2541

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น